ตลาดจำหน่ายผักบุ้ง
ปัจจุบันระบบการตลาดของไทยได้พัฒนาเป็นไปอย่างมากโดยเฉพาะระบบพ่อค้าคนกลาง นับว่าเป็นระบบที่ช่วยเขามาจัดการเรื่องการจำหน่ายสินค้าแก่การเกษตรกรให้มีความสะดวกสบายในการจำหน่ายสินค้ามากยิ่งขึ้น
การทำสวน ไร่ หรือนาผักบุ้งในปัจจุบัน เกษตรกรมีทางเลือกอย่างหลากหลายในการจำหน่ายสินค้าของตน เช่น
1. จำหน่ายเอง
การจำหน่ายสินค้าเอง ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายสินค้าในตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด โดยเกษตรกรจะตัดผักบุ้งมัดเป็นกำแล้วดำเนินการจัดส่งผักบุ้งไปยังตลาดดังกล่าว โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง การจำหน่ายสินค้าด้วยวิธีนี้ ทำให้ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง แต่ต้องเสียเวลาในการจัดการค่าการส่ง และแรงงานอยู่บ้าง การจัดจำหน่ายเองเหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมทั้งด้านแรงงานและการขนส่ง
2. จำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง
การจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางเป้นระบบที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพ่อค้าคนกลางจะมีความชำนาญในการติดต่อผู้ผลิต และจัดส่งให้ผู้จำหน่าย โดยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการติดต่อซื้อขายแทนบุคคลทั้งสอง
เมื่อเกษตรกรจะเก็บผักบุ้ง ก็เพียงแต่ส่งข่าวให้พ่อค้าคนกลางเดินทางไปรับผักบุ้งตามวันและเวลาที่กำหนด จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะเป็นคนกำหนดราคา เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้ว เกษตรกรก็จะตัดผักบุ้งมัดเป็นกำๆ เพื่อส่งให้พ่อค้าคนกลางนำไปส่งยังตลาดต่างๆ แทนตน
วิธีการเช่นนี้ แม้เกษตรกรจะได้ราคาที่ถูกลงมาบ้าง แต่เกษตรกรก็ไม่ต้องเสียเวลาในเรื่องของการบริการ การจัดการแต่อย่างใด
3. จำหน่ายผ่านสหกรณ์หมู่บ้าน
ในปัจจุบันมีระบบการจำหน่ายสินค้าในรูปของกลุ่มหมู่บ้านสหกรณ์ร้านค้าอยู่อีกระบบหนึ่ง ซึ่งระบบนี้นับว่ามีความเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และกำลังเป็นตลาดในท้องถิ่นที่กว้างและควบคุมพื้นที่ต่างๆ ทุกภาคของประเทศไทย
โดยสรุปแล้ว ตลาดการค้าผักบุ้งจะยังคงสดใสตลอดไปเพราะผักบุ้งเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวางนั่นเอง
ที่มา : พฤษภะ ณ อยุธยา. นาผักบุ้ง.กรุงเทพฯ : แสงปัญญาเลิศ จำกัด , 2542
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น